วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิธีสังเกตุอาการปวดหัว ที่บ่งบอกถึงโรคที่เป็นอย่างง่ายๆ


อาการปวดศีรษะรุนแรง พบได้อย่างน้อย 40% ของประชากรทั่วโลกทุกปี
ไม่ว่าจะในเขตเมือง หรือชนบท ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจาก ความเครียด และ
ความกังวล อาการปวดศีรษะยิ่งรุนแรง ยิ่งมักพบอาการคลื่นไส้, ไวต่อแสง
และเสียงเพิ่มขึ้น
     โดยทั่วไป
ลักษณะของอาการปวดศีรษะ, ตำแหน่ง, ระยะเวลา, ตัวกระตุ้น
และ การบรรเทาของการปวดศีรษะ จะช่วยในการวินิจฉัยแยกโรค ผู้ป่วยที่
ปวดศีรษะรุนแรง อาจจะเป็น ไมเกรน, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, เลือดออกใน
เยื่อหุ้มสมอง เป็นต้น ในขณะที่อาการปวดศีรษะจากเนื้องอกในสมอง
มักไม่รุนแรง
    
ตำแหน่ง ของ การปวดศีรษะจะช่วยในการวินิจฉัย เช่น ถ้าปวดจากอวัยวะ

นอกกะโหลกศีรษะ จากหลอดเลือดแดงอักเสบ มักบอกตำแหน่งที่ปวดได้ชัดเจน
ในขณะที่อาการปวดจากโพรงจมูก, ตา, ฟัน และกระดูกต้นคอ จะปวดเป็นบริเวณ
กว้างกว่า สำหรับการปวดจากในกะโหลกศีรษะ เช่น บริเวณสมองส่วนหลัง
มักปวดแถวด้านหลังศีรษะ และท้ายทอย
    
อาการปวดศีรษะไมเกรน อาจเป็นอยู่นาน เป็นชั่วโมง หรือเป็นวัน และทุเลา

ลงได้โดยการนอนพัก ต่างจากอาการปวดศีรษะจากเนื้องอกสมอง ซึ่งมักรบกวน
การนอนหลับ
    
ปัจจัยกระตุ้นการปวดศีรษะ เช่น ไวน์แดง
, การออกกำลังกาย, ความหิว,
การอดนอน, อากาศที่เปลี่ยนแปลง และประจำเดือน สนับสนุนว่าอาการปวด
ศีรษะนั้น มักไม่ได้เป็นจากโรคร้ายแรง อาการที่พบร่วมกับไมเกรนชนิดรุนแรง
เช่น คลื่นไส้-อาเจียน, ท้องเสีย, อาการเคืองตากลัวแสง, วิงเวียน, ชัก หรือหมด
สติได้ อาการปวดศีรษะที่ลดลง หรือหายไประหว่างการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะใน
ไตรมาสที่ 2 และ 3 เป็นลักษณะสำคัญของอาการปวดแบบไมเกรน
     อาการปวดศีรษะที่สัมพันธ์กับการปวดประจำเดือน หรือการหลั่งน้ำนม
สนับสนุนถึง ความผิดปกติของรังไข่ หรือเนื้องอกของต่อมพิทูอิตารีย์
นอกจากนี้ ถ้าพบอาการปวดศีรษะในผู้ป่วยมะเร็ง อาจต้องคิดถึง ภาวะแพร่กระจาย
ของมะเร็งไปที่สมองด้วย ถ้าอาการปวดศีรษะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวของตา
ให้คิดถึงโรคของการติดเชื้อ โดยเฉพาะโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ สำหรับอาการปวด
ศีรษะจากโพรงจมูกไซนัสอักเสบ จะพบว่ามีน้ำมูกข้นเขียวร่วมด้วย
     อาการเจ็บที่หน้า จากปวดเส้นประสาท จะมีอาการเจ็บคล้ายไฟฟ้าช็อตเป็นครั้งคราว
อย่างไรก็ดี อาการเจ็บหน้าที่พบบ่อยที่สุด จะมีสาเหตุมาจาก ฟัน ซึ่งอาการจะกำเริบ
ขึ้นได้โดยความร้อน, ความเย็น หรือ อาหารหวาน
     โดยทั่วไป ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะรุนแรง มักมีอาการปวดแบบตุ๊บๆ ร่วมกับ
อาเจียน และเจ็บหนังศีรษะ อาการปวดศีรษะรุนแรงที่น้อยลงมา มักปวดทั่วศีรษะแบบ
ถูกรัด
    
อาการปวดศีรษะไมเกรน มักจะมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว มีอาการมองไม่เห็น

ชั่วขณะ, อาเจียน, ไวต่อแสง และหรือ มีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย โดยมี
ปัจจัยกระตุ้น และอาการดีขึ้นได้โดยสิ่งแวดล้อมที่สลัว มืด และการนอนพัก มักพบ
ในผู้หญิง และผู้ที่มีประวัติไมเกรนในครอบครัว
     ลักษณะการปวดศีรษะไมเกรน จะมีทั้งแบบที่พบความผิดปกติของระบบประสาท
และตา ร่วมกับปวดศีรษะหรือไม่ก็ได้
     สำหรับ
อาการปวดศีรษะจากความเครียด มักปวดทั้ง
2 ข้าง ด้านหน้า หรือท้ายทอย
อาการปวดเป็นแบบหนักๆ หรือคล้ายบีบรัดศีรษะ อาการปวดจะค่อยเป็นค่อยไป และ
พบลักษณะปวดตุ๊บๆได้บ่อย ภาวะนี้มักพบสัมพันธ์กับความเครียด ความวิตกกังวล,
การดื่มเหล้า หรือสูบบุหรี่ และอาจมีอาการปวดศีรษะอยู่นานเป็นชั่วโมง หรือเป็นวันก็ได้
    
การดูแลผู้ป่วยที่ปวดศีรษะ
     ผู้ป่วยด้วยอาการปวดศีรษะรุนแรงครั้งแรก จะมี
โอกาสพบสาเหตุที่รุนแรงได้บ่อยกว่า ผู้ป่วยที่ปวดศีรษะเป็นๆ หายๆ มาหลายปี เช่น
อาจเป็น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ,เลือดออกในเยื่อหุ้มสมอง, ต้อหิน, ไซนัสอักเสบ
เป็นหนอง รวมทั้งไมเกรน เป็นต้น
     ผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะเป็นๆ หายๆ ควรได้รับการตรวจทางระบบหัวใจและ
หลอดเลือด รวมทั้งการทำงานของไต เช่น วัดความดันโลหิต การตรวจปัสสาวะ,
การตรวจตา, การตรวจกระดูกสันหลังที่คอ, การตรวจทางระบบประสาทและจิตเวช
โดยผู้เชี่ยวชาญ เป็นต้น
     ดังนั้น ประวัติ อาการ การตรวจร่างกาย และผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
จะช่วยให้ได้การวินิจฉัยและการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม
 
                                                           โดย แพทย์หญิงอารีย์ กันตชูเวสศิริ อายุรแพทย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น