วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ภาษาไทย วันละคำ สองคำ

หลายคนยังสับสนกับการสะกดและใช้คำ "คำพ้องเสียง" ในภาษาไทยผิดอยู่บ่อยๆ

เช่น คำว่า "บัน" และ "บรร" เป็นต้น

การเขียนคำว่า "บันได" และ "บรรได"

ซึ่งคำที่ถูกต้องคือ "บันได" ค่ะ

มีหลักการจำที่ไม่ยากเลยค่ะ มาลองท่องจำกันนะคะ ^^

บันดาลลงบันได   บันทึกให้ดูจงดี
รื่นเริงบันเทิงมี     เสียงบันลือสนั่นดัง

ในกลอนเป็นคำที่ใช้ "บัน"

ส่วนคำว่า "บรร" คำที่เห็นใช้กันบ่อยๆ คือ บรรยาย บรรยากาศ บรรจุ บรรทัด บรรเทา บรรณาธิการ บรรลุ เป็นต้นค่ะ

นอกเหนือจากคำว่า..บัน..และ..บรร..

ยังมีคำที่ไม่ได้เอ่ยถึงอีก ก็คือ..บัล..บัญ..และ..บัณ ค่ะ

ถ้ามีโอกาสว่างๆเมื่อไรจะมานำเสนอให้รู้จักและเข้าใจกันนะคะ ^^

หรือสามารถเข้าไปติดตามได้ที่ ช่างซ่อมภาษา กันนะคะ ตามลิงค์ด้านข้างเลยค่ะ

fanclub สารคดี ไปดูผีเสื้อด้วยกัน

29 ปีมีครั้งเดียว

มาเป็น fanclub สารคดี ไปดูผีเสื้อด้วยกันสารคดีจัดให้ ฟรีทุกอย่าง!!!
ไปดูผีเสื้อเป็นล้านๆตัวพร้อมผู้เชี่ยวชาญมือหนึ่งเรื่องผีเสื้อ 

โดยคุณเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์  วันที่ 22-23 มิถุนายน 2556 ณ อุทยานแห่งชาติปางสีดา จ.สระแก้ว
รับเพียง 20 ท่าน เท่านั้น!!
บริดสโตน ผู้สนับสนุนคนรักผีเสื้ออย่างเป็นทางการ


กำหนดการ
วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2556
07.00 พบกันที่สำนักงานนิตยสารสารคดี (ตามแผนที่แนบ)
08.00 ออกเดินทางสู่อุทยานแห่งชาติปางสีดา จังหวัดสระแก้ว
09.30 แวะพักที่ปั๊มน้ำมัน ปตท. สาขาองครักษ์ จังหวัดนครนายก
12.00 รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ที่ร้านอาหารครัวร่มไทร หน้าทางเข้าอุทยานแห่งชาติปางสีดา
13.00 พูดคุยภาพรวมก่อนเริ่มกิจกรรมดูผีเสื้อ โดย คุณเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์ และ คุณอนุรัตน์ วัฒนาวงศ์สว่าง ณ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติปางสีดา
13.15 เข้าที่พัก และทำธุระส่วนตัว
14.00 เริ่มกิจกรรมดูผีเสื้อ ณ ลานดูผีเสื้อของอุทยานฯ
18.00 รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน ที่ร้านอาหารสวัสดิการ
19.00 กิจกรรมพูดคุยแลกเปลี่ยน และฉายภาพผีเสื้อ
20.30 พักผ่อนตามอัธยาศัย

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2556
07.00 รับประทานอาหารเช้าร่วมกัน ที่ร้านอาหารสวัสดิการ
08.00 เดินทางขึ้นจุดชมวิว อุทยานแห่งชาติปางสีดา
09.00 ดูผีเสื้อที่ลาน ปด.5
12.00 รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ ร้านอาหารสวัสดิการ
13.00 เดินทางกลับพร้อมแวะซื้อของฝากระหว่างทาง

กำหนดการนี้อาจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
หมายเหตุ
1. เนื่องจากอุทยานฯ มีที่พักจำกัด เราจึงต้องอยู่ร่วมกันแบบอบอุ่น อาจมีบางท่านต้องนอนถุงนอน (ในบ้าน)
2. หากท่านใดมีอุปกรณ์กล้อง BINOCULARS หรือกล้องส่องทางไกล ให้นำติดตัวไปด้วย
3. อุปกรณ์ที่ควรนำติดตัวไป เช่น ไฟฉาย ยาทากันยุง
4. หากมีโรคประจำตัว กรุณานำยาของท่านติดตัวไปด้วย

กติกาการร่วมสนุก
1. สมัครเป็น fanclub สารคดี โดย ดาวน์โหลดใบสมัคร ผ่านทาง www.sarakadee.com, www.facebook.com/sarakadeeactivity
2. ถ่ายภาพตัวท่านคู่กับหนังสือ THAILAND BUTTERFLY GUIDE
หรือ ถ่ายภาพคู่กับหน้าโฆษณาหนังสือ THAILAND BUTTERFLY GUIDE ในนิตยสารสารคดี ฉบับเดือนมิถุนายน 2556 พร้อมแสดงเหตุผลว่าทำไมถึงอยากไปดูผีเสื้อกับเรา มาที่อีเมล fanclub@sarakadee.com
3. การตัดสินโดยคัดเลือกเหตุผลที่โดนใจคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด จำนวน 20 ท่าน
4. ผู้ได้รับการคัดเลือกเท่านั้นที่จะได้รับการติดต่อกลับจากเจ้าหน้าที่ เพื่อยืนยันการรับสิทธิ์ และนัดแนะวันเข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลา เปิดรับภาพตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2556

ประกาศผล วันที่ 12 มิถุนายน 2556 ทาง www.sarakadee.com, www.facebook.com/sarakadeeactivity

รางวัล
ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมกิจกรรม สารคดี FC ครั้งที่ 1 “ไปดูผีเสื้อกับคุณเกรียงไกร สุวรรณภักดิ์
ณ อุทยานแห่งชาติปางสีดา จ. สระแก้ว” ระหว่างวันที่ 22-23 มิถุนายน 2556 (2 วัน 1 คืน)

จำนวนรางวัล 20 รางวัล (รางวัลละ 1 ที่นั่ง)

กติกา เงื่อนไข ข้อตกลงร่วมกัน
1. สิทธิ์การเข้าร่วมกิจกรรมไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินสด หรือของรางวัลอื่นใดได้
2. ผู้ได้รับการคัดเลือกไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้กับผู้อื่นได้
3. หากทางเจ้าหน้าที่ไม่สามารถติดต่อผู้ได้รับการคัดเลือกได้จะถือว่าสละสิทธิ์
4. ผู้ได้รับการคัดเลือกสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อยืนยันสิทธิ์ได้ด้วยตัวเองที่หมายเลขโทรศัพท์
0-2281- 6110 ต่อ 110, 112-114 มือถือ 08-1583-5040, 08-9698-2220 ในวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 17.00 น. (เว้นเวลา 12.00-13.00 น.)
5. ขอสงวนสิทธิ์ในการระงับหรือยกเลิกให้รางวัลแก่บุคคลที่กระทำการใด ๆ ทุจริต ผิดกฎ ผิดกติกาและไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของกิจกรรม
6. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
7. ทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

คิดก่อนเลี้ยงชูการ์ (ข้อดี/ข้อเสีย)

มาดูข้อดีกัน


- เป็นสัตว์ที่ชอบเช้าสังคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั้นรวมถึงอยู่รวมกับเจ้าของด้วย ชูการ์ จะจำทั้งกลิ่นและเสียงของเจ้าของได้ดีทีเดียว
.

- เมื่อคุ้นกับคุณแล้วจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับเจ้าของ จะไม่กัด และไม่ขู่ หรือ เรียกว่้าเชื่องนั่นเอง
.

- ชูก้าร์ เป็นสัตว์ที่ชอบซุกตัว ขดตัวอยู่ในที่แคบซึ่งดีที่สุดน่าจะเป็นกระเป๋า ถุงนอน

ชูการ์ มีวงจรชีวิตค่อนข้างยาว ถ้าเจ้าของดูแล รัก เอาใจใส่ ชูการ์ เป็นอย่างดี เค้าจะอยู่กับเรานานกว่าสัตว์เลี้ยงอีกหลายชนิด
.

เมื่อมีข้อดีกันแล้วก็ดูข้อเสียบ้าง

- ชูการ์ ไม่สามารถจะถูกฝึกให้ขับถ่ายเป็นที่ แล้วเค้ายังจะวิ่งไปทำเครื่องหมายไปทั่ว (คล้ายกับฉี่ จะเห็นชัดในชูการ์ตัวผู้) ต้องคอยตามเช็ด อาจจะสร้างความรำคาญและเบื่อหน่ายกับเจ้าของได้
.

- ชูการ์ มีอายุยืนยาวประมาณ 10-15 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น ฉะนั้นถ้าคิดจะเริ่มเลี้ยงแล้วตัดสินใจเลิกกลางคันจะเป็นการทำร้ายจิตใจของ เค้า เป็นอย่างมากเพราะเค้าเป็นสัตว์ที่รักเจ้าของและก็รักคนเดียวเท่านั้น ซึ่ง การโยกย้ายทั้งที่อยู่และเจ้าของเป็นความเหนื่อยยากและเป็นความเครียดที่ฝัง ใจ ชูการ์ และมีผลต่อนิสัยการแสดงออกของชูก้าร์ด้วย เคยมีบันทึกเกี่ยวกับ ชูการ์ ที่ตรอมใจตายเนื่องจากการเปลี่ยนเจ้าของ
340_06_06_09_6_11_28
.

- ชูการ์ เป็นสัตว์กลางคืน ถ้าไม่พร้อมที่จะถ่างตาอยู่รอเล่นกับเค้าในเวลาที่เค้าตื่น ถ้าคุณนอนดึกไม่ได้ก็เปลี่ยนใจไปเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น เพราะตอนกลางคืนเค้าจะร้องเรียกเจ้าของออกมาเล่นด้วยเป็นประจำ
- ชูการ์จะเปล่งเสียงออกมาคล้าย ๆ กับลูกสุนัขเห่า หรือ เรียกว่า กา่รเห่านั่นเอง  ในช่วงเวลาที่เรากำลังหลับสบาย แต่ชูการ์เค้าไม่ได้หลับกับเราด้วย ช่วงประมาณ ตี 1-3 จะเป็นช่วงเวลาที่เค้าคึกมากที่สุด อาจจะมีการเล่นเสียงดังหรือ ส่งเสียงดัง หรือ เห่า เรีัยก ถ้าไม่สามารถอดทนสำหรับข้อนี้ได้ก็ไม่ควรเลี้ยง เพราะห้ามและฝึกไม่ได้
.

- ชูการ์ ชอบกินแมลงหากไม่สามารถจับหนอน จิ้งหรีด แมลงปีกแข็งอื่น ต้องเปลี่ยนใจไปเลี้ยงอย่างอื่นแทน เพราะแมลงเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงาน โปรตีนที่เป็นมากที่สุดสำหรับชูการ์
- ชูการ์ เป็นสัตว์ที่เอาแต่ใจ ไม่ชอบการบังคับ ห้ามก็ไม่ฟัง พูดก็ไม่รู้เรื่อง ถ้าขัดใจหล่ะก็เป็นกัดแน่นอน
.

- ชูการ์ มีกระดูกที่บางและเล็ก ฉะนั้น เค้าจึงไม่ชอบที่จะถูกกอดหรือจับต้องแรง ๆ ฉะนั้น ไม่แนะนำสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีค่ะ
- ชูการ์เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นแรง โดยเฉพาะตัวผู้ เค้าจะต้องใช้กลิ่นในการสร้างอาณาเขต คนที่คิดจะเลี้ยงจะต้องทบทวนดูให้ดีว่าจะรับข้อเสียเค้าได้หรือไม่


เครดิตจาก  http://pets.thaipetonline.com/

ข้อมูลต่างๆในการเลี้ยงชูการ์ไกรเดอร์


ชื่อสามัญ : Sugar Glider
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Petaurus Breviceps
ถิ่นกำเนิด : ออสเตรเลีย นิวกินี อินโดนีเซีย
อาหาร : ผลไม้รสหวาน แมลงหรือหนอนตัวเล็กๆ
อุปนิสัย : เป็นสัตว์หากินตอนกลางคืน และ สัตว์สังคม
รูปร่าง : โตเต็มวัยจากจมูกถึงหางยาวประมาณ 13-18 นิ้ว
อายุ : ประมาณ 10-15ปี


นิสัยของชูการ์ไกรเดอร์
มาดูนิสัยของชูการ์กันก่อนนะ เราจะแบ่งนิสัยออกเป็นช่วงอายุ ดัีงนี้
นิสัยโดยรวม ลักษณะนิสัยของชูการ์ พวกนี้คือ ขี้เล่น ซุกซน ชอบกัดแทะ (เป็นบางตัว)
ชอบปีนป่าย ชอบอยู่รวมกลุ่มกัน ขี้อ้อน ขี้ตกใจ และที่สำคัญที่สุดที่ทุกตัวต้องเป็นคือ “ ขี้เซา ”


การตัดเล็บชูการ์
1. เริ่มต้นจาการหาผ้ามาคลุมตัวเค้าไว้แบบนี้
2. อย่าให้หัวโผล่มาได้ ไม่งั้นเค้ากัดเราแน่ !!
3. ค่อย ๆ ดึงนิ้วออกมาทีละนิ้วแบบนี้
4. เตรียมกรรไกรตัดเล็บ หรือ กรรไกรตัดหนัง (ของคน) ไว้ให้พร้อม
5. ใช้กรรไกรค่อย ๆ เล็มบริเวณปลายเล็บ นิดเดียวนะ ประมาณ 0.01 ml.
6. ค่อย ๆ ตัดไปจนครบหมดทุกนิ้ว อาจจะต้องมีการบังคับฝืนใจกันหน่อย    

   เทคนิคง่าย ๆ ในการตัดเล็บ คือ ชูการ์ไม่ค่อยชอบเวลาตัดเล็บเป็นอย่างมากควรจะตัดเวลานอนจะดีที่สุด
 

การดูเพศชูการ์ไกรเดอร์
ตัวเมีย จะมีกระเป๋าที่หน้าท้อง ตอนที่อายุน้อยจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเพราะขนยังขึ้นไม่เต็มที่ และเมื่ออายุโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้ยากเพราะขนจะขึ้นปรกคลุมบริเวณนั้น
ตัวผู้    จะมีลูกอัณฑะอยู่บริเวณหน้าที่ (ตำแหน่งเดียวกับกระเ๋ป๋าหน้าท้องของตัวเมีย) และลงมาจะเป็นอวัยวะเพศจะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้น จะหดอยู่อยู่ในบริเวณทวารหนัก เมื่อโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตัวผู้มักจะเอาออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อย ๆ


เรื่องการสืบพันธุ์ของชูการ์
ในช่วง ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือน พฤศจิกายน จะเข้าสู่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ชูการ์จะใช้ระยะเวลาในการทั้งท้อง
ประมาณ 16 วัน ถึง 21 วัน เมื่อคลอดลูกออกมาแล้วลูกจะคลานเข้าสู่กระเป๋าหน้าท้องของแม่
- ตัวผู้พร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 10เดือน
- ตัวเมียพร้อมผสมพันธ์ โดยประมาณ 8เดือน หรือ 1ปี

วิธีง่ายๆในการดูชูการ์ไกรเดอร์ท้อง
ฝื่นใจน้อง ปลิกระเป๋าส่วนหน้าท้อง ถ้ามีตุ่มๆ แสดงว่าน้องกำลังตั้งท้อง  แต่ถ้าปลิออกมาแล้วเป็นปกติ(แห้งๆไม่มีตุ่ม)
แสดงว่าไม่ได้ ท้อง  หรือ ถ้าปลิแล้ว เจอแดงๆ อย่าตกใจนะค่ะนั้นคือเด็กๆค่ะ

ผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับชูการ์
ผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ฝรั่ง มะม่วงสุก องุ่นแดง แคนตาลูป แตงโม ชมพู่ อโวกาโด เงาะ ข้าวโพดต้มสุก
ลำใย ขนุน ทุเรียน ผลไม้เหล่านี้ให้ทานได้เป็นกระสัย อย่าให้ทานมากไป
นอกจากเค้าจะทานเนื้อผลไม้แล้วเรายังสามารถให้ทานน้ำ ผลไม้ได้ด้วย ไม่ว่าจะโดยการคั้นหรือปั่นเองและเป็นแบบกล่อง (ต้อง 100% เท่านั้น) เช่น น้ำผลไม้แท้ 100% ยี่ห้อต่าง ๆ



อาหารของ ชูการ์ไกรเดอร์ นั้น ตามธรรมชาตินั้น จะหากินกลางคืนและจะกิน ยางไม้ แมลง และเกสรดอกไม้ต่าง ๆ ได้แยกการกินออกเป็นช่วงอายุดังนี้
อายุตั้งแต่ แรกเกิด – 4 เดือน
อาหารสำหรับชูก้าเด็กนั้นคือ ซีลีแลค เพียงอย่างเดียว เพราะกะเพา่ะชูก้าเด็กยังปรับตัวได้ไม่ดีจึงไม่แนะนำ ให้ทานอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้
อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
อาหารสำหรับชูก้าโต จำแนกดังนี้
- ซีลีแีลค Carnivorous Care
- ผลไม้ ที่มีรสหวาน เช่น ชมพู่ แตงโม องุ่น ขนุน เงาะ ลำใย ฝรั่ง เป็นต้น
- หนอน แมลง อื่น ๆ เช่น หนอน waxworm ตัวอ่อนผึ้ง จิ้งหรีด เป็นต้น
- เสริม เช่น ยางไม้ เกสรผึ้ง เป็นต้น

****ข้อห้าม****
1. อาหารทอด
2.จิ้งจก(ห้ามเด็ดขาด)







เพิ่มเติมคะ
ชูก้า ไกลเดอร์ (Sugar glider) กระรอกบินออสเตรเลีย หรือที่เรียกกันว่า จิงโจ้บิน
คือ สัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้องสำหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน(pouch) อยู่ในกลุ่มเดียวกันกับ หมีโคอะล่า และจิงโจ้ ชูการ์ ไกลเดอร์
มี ถิ่นกำเนิดในเกาะแทสเมเนีย ประเทศออสเตรเลีย และปาปัวนิวกินี ประเทศอินโดนีเซีย
พวกมันเป็นสัตว์หากินกลางคืน กลางวันจะชอบนอน ใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนต้นไม้ เป็นสัตว์สังคมที่อยู่กันเป็นฝูง ประมาณ 6-10 ตัว
นำเข้าประเทศไทยเมื่อปี 2542 ปัจจุบันสามารถเพาะพันธุ์ได้แล้ว

ทั้งนี้ ชูก้าไกลเดอร์ จะมีน้ำหนักประมาณ 90-150 กรัม
ขนาดของลำตัวตั้งแต่จมูกถึงปลายหางยาวประมาณ 12 นิ้ว
มีขนที่นิ่มละเอียด แน่น เป็นสีเทาหรือน้ำตาลตั้งแต่ลำตัวไปจนถึงหาง และ มีแถบสีดำหรือน้ำตาลเข้มที่เริ่มระหว่างตา
และ แผ่ขยายไปจนถึงแผ่นหลัง มีดวงตาที่โปน และมีขนาดใหญ่ ข้างลำตัวมีผังผืด ที่เหยียดจากข้อมือไปจนถึงข้อเท้าทั้งสองข้าง ซึ่งช่วยในการบิน หรือ ร่อน

สำหรับนิสัยของ
ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์ที่ต้องการความสนใจ และ เอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เป็นสัตว์สังคม
ดังนั้น หากคุณตัดสินใจที่จะเลี้ยงสัตว์ชนิดนี้ ก็ต้องหมั่นสนใจและเล่นกับเขาบ่อยๆ ซึ่งหากเล่นกับเขาตั้งแต่ยังเล็ก เจ้าชูการ์ ไกลเดอร์ ก็จะติดเจ้าของมาก

อาหาร และ การเลี้ยงดู
สำหรับวิธีการเลี้ยง ต้องเตรียมกล่อง หรือ กรงที่มีขนาดใหญ่พอสมควร ควรมีความสูงมากกว่าความกว้าง เพราะ ชูการ์ ไกลเดอร์ ชอบกระโดดและปีนป่าย
แนะนำให้หากิ่งไม้หรือที่สำหรับปีนป่ายได้ด้วยก็จะยิ่งดี ภายในกล่องหรือกรงควรมีช่องการระบายอากาศที่ดีพอสมควร
นอกจากนี้ควรมีถุงนอนหรือผ้าจัดไว้ให้ด้วย เพราะชูการ์ ไกลเดอร์ชอบนอนซุกตามถุงผ้า หรือโพรง เนื่องจากสัตว์พันธุ์นี้ขี้หนาว

ในเรื่องอาหารการกิน ชูก้า ไกลเดอร์ สามารถกินอาหารได้หลายประเภท
คือ กินได้ทั้งพืช และ สัตว์ ชอบกินผลไม้รสหวานอย่างกล้วย แอปเปิ้ล มะละกอ มะมม่วงสุก แตงโม ฯลฯ ทั้งนี้
ควรให้กินผลไม้หลากชนิดสับเปลี่ยนกันไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้รับวิตามินครบถ้วน นอกจากนี้ควรให้กินแมลงบ้าง เช่น จิ้งหรีด ตั๊กแตน หนอนนก เพื่อ เพิ่มโปรตีน

ส่วนปริมาณอาหารในช่วงอายุ 2 เดือนแรก ให้กินซีลีแลค หรือ นม วันละ 4-6 ครั้ง เพราะอยู่ในวัยเจริญเติบโต เมื่อย่างเข้าเดือนที่ 3 ลด เหลือวันละ 2-3 ครั้ง 
อายุ 4 เดือนขึ้นไปให้อาหารวันละ 1-2 ครั้ง  ทั้งนี้ ควรเตรียมน้ำสะอาดไว้ในกรงด้วย

และแม้ว่า ชูการ์ ไกลเดอร์ มักจะทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอก็ตาม แต่เมื่อใดที่คุณสังเกตเห็นร่างกายของ ชูการ์ ไรเดอร์ สกปรกและเริ่มมีกลิ่นไม่พึงประสงค์
ก็สามารถพามันไปอาบน้ำได้ โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นหมาดๆ เช็ดตามลำตัว หรือ อาบน้ำ ฟอกสบู่ได้เลยแต่ต้องเร็วๆ จากนั้นรีบเช็ดตัวให้แห้งเร็วๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปอดชื้น

สิ่งหนึ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งในการเลี้ยงดูเจ้า ชูการ์ ไกลเดอร์ คือ เล็บอันคมกริบของมัน เวลาที่เค้าเกาะจะเจ็บพอสมควร
ยิ่งหาก ชูการ์ ไกลเดอร์ เกิดตกใจจะกระตุกเท้าแล้วเล็บจะจิกเราทำให้เป็นแผลได้ ดังนั้น ควรตัดเล็บโดยนำกรรไกรตัดเล็บมาตัดบริเวณปลายๆ เล็บ ระวังอย่าตัดลึก เพราะ อาจโดนเส้นเลือดหรือเส้นประสาทได้ ซึ่งในการตัดเล็บครั้งแรกอาจยากสักหน้อย เพราะความไม่เคยชิน จึงแนะนำให้แอบตัดตอนที่เขานอน หรือกำลังกินจะง่ายที่สุด หรือใช้ผ้าจับตัวน้องไว้ แล้ว ดึงขาออกมาทีละข้าง และ ค่อยตัด


การเลือกซื้อ ชูการ์ ไกลเดอร์
ในปัจจุบัน ชูก้า ไกลเดอร์ ที่นำเข้ามาขายในไทยจะเป็นสายพันธุ์ออสเตรเลียและอินโดนีเซีย ซึ่งปัจจุบันมีการผสมข้ามสายพันธุ์ไปมาก
ทั้งนี้ ชูการ์ ไกลเดอร์ สายพันธุ์ออสเตรเลียจะมีสีเงิน จากหน้าไปถึงหาง
ส่วน ชูการ์ ไกลเดอร์ พันธุ์อินโดนีเซียจะออกสีน้ำตาล หรือ ส้มๆ อย่างไรก็ตาม ในการเลือกซื้อควรเลือกซื้อ ชูก้า ไกลเดอร์ ที่มีอายุ 2 เดือนขึ้นไป
ควรเลือกตัวที่ซน ร่าเริง ปีนป่ายเก่งๆ แต่ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็น เพราะชูก้า ไกลเดอร์ เป็นสัตว์กลางคืน ตอนกลางวันจึงเอาแต่นอน 

เคดิตจาก www.cm-club.com คุณ ka_tak_13 เด็กเก๋าเฝ้าปะยาง และ kapook


วันศุกร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของธนบัตรแบบที่ ๔

ธนบัตรแบบที่ ๔ (โทมัส)

            ด้าน หน้าเชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเมื่อ ทรงพระเยาว์เป็นภาพประธาน  โดยมีภาพปูชนียสถานที่สำคัญ ได้แก่ วัดพระสมุทรเจดีย์  พระปฐมเจดีย์  ป้อม มหากาฬกับบรมบรรพต พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์กับพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เป็นภาพประกอบของธนบัตรแต่ละชนิดราคาตามลำดับ ส่วนด้านหลังเป็นภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม ธนบัตรแบบ ๔ (โทมัส) มี ๒ รุ่น รุ่นหนึ่ง พิมพ์ข้อความด้านหน้าธนบัตรว่า "รัฐบาลสยาม" 
       รุ่นสอง เปลี่ยนเป็นคำว่า "รัฐบาลไทย" มี ๕ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท  ๑๐ บาท  ๒๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด ทยอยออกใช้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ ในรัชกาลที่ ๘









วันพฤหัสบดีที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ความเป็นมาของธนบัตรแบบที่ ๓

ธนบัตรแบบที่ ๓

        เป็นธนบัตรแบบแรกที่เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ไทยเป็นภาพ ประธานบนด้านหน้า โดยมีภาพอันแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีและสถาปัตยกรรมไทย ตลอดจนทัศนียภาพต่าง ๆ เป็นภาพประกอบ ส่วนด้านหลังเป็นภาพวัดพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ และมีการพิมพ์ข้อความแจ้งโทษของการปลอมแปลงธนบัตรเป็นครั้งแรก มี ๔ ชนิดราคา ได้แก่ ๑ บาท ๕ บาท  ๑๐ บาท  และ ๒๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด  เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๗๗ ในรัชกาลที่ ๗ จนถึงรัชกาลที่ ๘              



รุ่นหนึ่ง (พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๗)


















รุ่นสอง (พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ รัชกาลที่ ๘)






 



ความเป็นมาของธนบัตรแบบที่ ๒

ธนบัตรแบบที่ ๒ 

      เป็น ธนบัตรที่พิมพ์ทั้งสองด้าน ด้านหน้าเป็นภาพลายเฟื่องประกอบรัศมี ๑๒ แฉก ด้านหลังเป็นภาพพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ จึงเรียกกันว่า ธนบัตรแบบไถนา ธนบัตรแบบ ๒ มี ๒ รุ่น ๖ ชนิดราคา ได้แก่  ๑ บาท ๕  บาท ๑๐  บาท ๒๐ บาท ๑๐๐ บาท  และ ๑๐๐๐ บาท พิมพ์ที่บริษัท โทมัส เดอ ลา รู จำกัด เริ่มทยอยออกใช้ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลที่ ๗



ธนบัตรแบบ ๒  รุ่นหนึ่ง พิมพ์ข้อความว่า "สัญญาจะจ่ายเงินให้แก่ผู้นำธนบัตรนี้มาขึ้นเป็นเงินตราสยาม"
ที่ด้านหน้าของธนบัตรทุกชนิดราคา



  ธนบัตรแบบ ๒ รุ่นสอง เปลี่ยนข้อความเป็น "ธนบัตร์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย" 

        

 























วันพรุ่งนี้จะมาอัพ แบบที่ ๓ และ ๔ นะคะ ^^