วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

เจ้าชายน้อย

 เจ้าชายน้อย (ฝรั่งเศส: Le Petit Prince; อังกฤษ: The Little Prince) เป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี นักเขียนชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1943 อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรีเขียนงานเขียนชิ้นนี้ขณะพำนักอยู่ที่นิวยอร์ก เจ้าชายน้อยถือได้ว่าเป็นหนังสือขายดีติดอันดับโลก นวนิยายชุดนี้ได้รับการจัดแปลกว่า 190 ภาษาและมียอดจำหน่ายกว่า 80 ล้านเล่มทั่วโลก ในหลายประเทศได้มีการนำเอาเนื้อเรื่องจากหนังสือไปสร้างเป็นการ์ตูน ภาพยนตร์ ละครเวที อุปรากร และการแสดงรูปแบบอื่นๆ

ถ้าใครเคยได้อ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ในสมัยเด็กๆอาจได้มุมมองอีกแบบหนึ่ง....
ในหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าเวลาล่วงเลยไปแล้ว
ได้กลับมาอ่านในตอนเป็นผู้ใหญ่ก็จะได้ มุมมองข้อคิดอีกแบบหนึ่งเปลี่ยน
ผมหมายถึง วรรณกรรมคลาสิกของโลกเรื่อง "เจ้าชายน้อย"
หนังสือที่งดงาม เรียบง่าย ไร้เดียงสาแสดงถึง ความจริงของชีวิตปรากฏขึ้น
ได้อย่างเด่นชัดที่สุด จินตนาการอันบริสุทธิ์ของดวงใจน้อย ๆของเจ้าชายน้อย
ผมอ่านวรรณกรรมเรื่องนี้ ได้สะกิดใจผมให้รำลึกถึง "สิ่งที่สำคัญ"
ดังท่อนหนึ่งในหนังสือกล่าวว่า
 
"เราจะมองเห็นแจ่มชัดด้วยหัวใจเท่านั้น สิ่งสำคัญนั้นไม่อาจเห็นได้ด้วยดวงตา"
" It is only with the heart that you can see fully ;
what is essential is invisible to the eyes "
 
เจ้าชายน้อยพูดกับสุนัขป่า

วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ความสุขของกะทิ

วรรณกรรมไทยที่ได้รับการแปลแล้ว 10 ภาษา 
รางวัลซีไรต์ ปี 2549
ผู้เขียน : งามพรรณ เวชชาชีวะ

.....พบกับวรรณกรรม สร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน ประเภทนวนิยาย ประจำปี 2549 “ความสุขของกะทิ” เนื้อหาในเล่มจะพาคุณผู้อ่านไปรู้จักกับเด็กหญิงคนหนึ่งในสังคมแบบชนบทที่ ดำเนินไปอย่างเนิบช้าและสงบงาม เป็นชีวิตอย่างที่ผู้คนจำนวนมากในเมืองต่างก็โหยหา แต่ลึกลงไปในใจของเด็กหญิง แม้จะมีทั้งตาและยายคอยให้ความรักและใส่ใจ เธอก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงแม่ แม่ผู้เก็บความลับในชีวิตของเธอเอาไว้ แม่ผู้บอกเหตุผลได้ว่าทำไมเธอจึงต้องมาอยู่กับตายาย แทนที่จะอบอุ่นในบ้านที่มีทั้งพ่อและแม่ แม่ผู้จะตอบคำถามในใจของกะทิได้หมด แม้ว่าบางคำถาม กะทิจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าต้องการจะรู้หรือไม่ก็ตาม...

หนังสือเล่มนี้ถ่ายทอดด้วยสำนวนภาษาอ่านง่าน สละสลวย คมคาย เต็มไปด้วยบรรยากาศที่ดูงดงามน่าอยู่ และเนื้อหาที่ลึกซึ้งกินใจ เป็นหนังสือดีอีกเล่มที่คุณไม่ควรพลาด

เนื้อเรื่อง:

  ความสุขของกะทิ เล่าเรื่องราวของน้องกะทิ เด็กหญิงวัย 9 ขวบที่กำลังจะต้องสูญเสียแม่ ซึ่งป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง แม่รู้ตัวดีว่าไม่สามารถเลี้ยงดูกะทิได้ จึงฝากกะทิให้ตากับยายเลี้ยง กะทิเติบโตมาด้วยความรักของตาและยาย มีชีวิตอย่างสุขสบายในบ้านหลังน้อยริมคลองอันอบอุ่น

       ผู้เขียน เล่าเรื่องราวของกะทิอย่างเรียบง่าย เนรมิตบ้านริมคลองให้เป็นบ้านในฝัน ที่อบอวลด้วยบรรยากาศอันรื่นรมย์ของอดีต ฉายรายละเอียดสิ่งละอันพันละน้อย ของวิถีชีวิตที่สุขสงบของครอบครัวชนชั้นกลางระดับสูงให้ผู้อ่านประทับใจ

       กะทิมีครอบครัวที่เอาใจใส่ ดูแลกะทิด้วยความรัก และความห่วงใยจากใจจริง เธอมีคุณตาที่เคยเป็นทนาย ซึ่งสามารถเรียกเสียงหัวเราะจากกะทิและครอบครัวได้อยู่เสมอๆ คุณยายของกะทิเป็นคนที่เคร่งครัด และหัวโบราณ แต่ถึงกระนั้นก็สอนกะทิเรื่องต่างๆนานา อะทิเช่น การทำอาหาร การอยู่ในสังคม เป็นต้น พี่ทองเป็นคนที่เข้าอกเข้าใจกะทิเป็นอย่างดี และเป็นคนที่มีบุญคุณต่อกะทิ เพราะว่าพี่ทองเคยช่วยชีวิตกะทิไว้ตอนกะทิเป็นเด็กเล็ก น้าฏา และน้ากันต์ซึ่งเป็นคนที่ห่วงใยกะทิ และคอยหาสิ่งดีๆให้กะทิอยู่เสมอๆ และเป็นคนที่พูดปลอบใจกะทิในยามที่กะทิเศร้าโศกเสียใจ และที่ขาดไม่ได้ก็คือ แม่ของกะทิ ที่ถึงแม้จะจากไปก่อนวัยอันควรแต่ก็จัดสิ่งต่างๆไว้ให้กะทิอย่างดิบดี ด้วยความรัก และเอาใจใส่จากใจ

       แต่ในความสุขมีความเศร้า ในวิถีชีวิตที่สุขสงบนี้ กะทิต้องเผชิญประสบการณ์ทางอารมณ์ที่ต้องสูญเสียแม่ และในความเศร้านั้นก็มีความสุข กะทิไม่คิดจะโหยหาถึงพ่อที่อยู่ไกลโพ้นต่างแดน หากเลือกอยู่ในอ้อมกอดของตากับยาย และผ่านชีวิตอันควรจะทุกข์นั้นด้วยใจที่เข้มแข็ง

       เสน่ห์ของนวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้อยู่ที่กลวิธีการเล่าเรื่อง ที่ค่อยๆ เผยปมปัญหาทีละน้อย ๆ อารมณ์สะเทือนใจจะค่อยๆ พัฒนาและดิ่งลึกในห้วงนึกคิดของผู้อ่าน นำพาให้ผู้อ่านอิ่มเอมกับรสแห่งความโศกอันเกษม ที่ได้สัมผัสประสบการณ์ทางอารมณ์ของชีวิตเล็กๆ ในโลกเล็กๆ ของเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งอาจไม่ไกลจากชีวิตจริงของเราเลย












วันเสาร์ที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2556

ลาแสนรู้


 ชื่อผู้แต่ง : เคาน์เตส เดอ เซกูร์
ชื่อผู้แปล : ปิยธิตา

"ลาแสนรู้" แปลจากวรรณกรรมเยาวชนภาษาฝรั่งเศสเรื่อง Les Mémoires d’un Âne ซึ่งได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 วรรณกรรมเยาวชนคลาสสิกฝรั่งเศส เป็นเรื่องเล่าจากบันทึกของเจ้าลาตัวหนึ่งชื่อ “กาดิชง” ซึ่งเป็นลาแสนรู้และฉลาดเฉลียวไม่แพ้ใคร อะไรที่คนคิดว่ามันไม่รู้นั้น แท้จริงแล้ว...คนบางคนต่างหากที่ช่างไม่รู้อะไรเลย และลาอย่างกาดิชงนี่ละที่จะเลือกเจ้านายของตัวมันเอง ชีวิตของกาดิชงโลดโผนผจญภัย ระเหเร่ร่อนไปทั่วตั้งแต่มันยังเล็กๆ เพราะเกิดอยู่ในครอบครัวของเจ้านายใจร้ายที่เอาแต่ใช้งานหนักและโบยตีไม่ เว้นวัน ทำให้กาดิชงต้องหนีหัวซุกหัวซุนไปตายเอาดาบหน้า จนได้พบกับเจ้านายมากหน้าหลายตา บ้างใจดี บางร้ายกาจ บ้างก็เอาแต่ประโยชน์แล้วทิ้งขว้าง ไม่สนใจไยดี ถึงอย่างนั้น กาดิชงก็ได้สร้างวีรกรรมเอาไว้มากมาย เช่นช่วยตำรวจจับโจรก็เคยมาแล้ว และในวันหนึ่ง กาดิชงผู้หยิ่งทนงในความฉลาดและเจ้าเล่ห์ของตน ก็ได้รับบทเรียนในการประพฤติตนให้อ่อนน้อมถ่อมตน และเป็นผู้ให้ ก่อนการได้รับความรักตอบ กาดิชงยังมีเรื่องเล่าที่สอดแทรกคติสอนใจเอาไว้มากมาย สนุกสนาน และซาบซึ้งประทับใจ จนทำให้เด็กๆ รู้สึกราวกับว่าได้เข้าไปนั่งอยู่ในใจของเจ้ากาดิชงเลยทีเดียว  

เปิดบันทึก

ท่านคงจะแปลกใจ ถ้าบอกว่าผู้เขียนบันทึกเล่มนี้คือลาตัวหนึ่ง และคงจะแปลกใจเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ขณะพลิกอ่านไปทีละหน้า ทีละหน้า เพราะเหตุว่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบันทึกล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงความฉลาด แสนรู้และมีหัวใจของ "กาดิชง"

เพราะนั่นมันขัดกับความเชื่อเดิม ๆ ของมนุษย์เรา

เรามักจะคิดว่าลาคือสัตว์โง่ ๆ หัวทึบ จนมีคำเปรียบเปรยว่า "เจ้าลาโง่" หรือ "โง่เหมือนลา" เลยทีเดียว...


จากคำนำผู้แปล:

'บันทึกของกาดิชง' นี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงว่า ลานั้นมิได้โง่ เซ่อ หรือดื้อรั้นตามคำกล่าวหา ชีวิตของกาดิชงบ่งบอกชะตาชีวิตของลาที่ขึ้นอยู่กับจิตใจและการกระทำของ มนุษย์ นิทานเรื่องนี้เป็นประหนึ่งคำประกาศเรียกร้องให้มนุษย์รักสัตว์เลี้ยงของตน เคาน์เตสเดอเซกูร์ ผู้ประพันธ์เรื่องนี้มองทะลุเข้าไปถึงหัวใจของสัตว์เลี้ยงอันต่ำต้อย ยกฐานะของมันขึ้นมาให้เทียบเทียมกับผู้เป็นเจ้าของ สุภาพสตรีสูงศักดิ์ท่านนี้ได้ตีแผ่หัวใจดวงน้อย ๆ อันบริสุทธิ์ของเด็ก ๆ ทั้งหลายที่เป็นตัวละครโลดแล่นอยู่ใน
 เรื่อง...

....................

แม้ ว่าลาจะมิใช่สัตว์ที่เคยมีความสำคัญในชีวิตสมัยก่อนของไทย แต่นิทานอมตะเรื่องนี้ก็อาจจะเป็นที่ประทับใจของเด็กไทยเหมือนกับที่ได้ ประทับใจเด็กฝรั่งเศสมาโดยตลอด เด็กมีหัวใจอันบริสุทธิ์เหมือนกันทั้งโลกมิใช่หรือ และผู้ใหญ่ก็อาจจะยินดีสัมผัสความบริสุทธิ์นั้นอีกครั้ง

ความฉลาด และความอวดหยิ่งของกาดิชง ความน่าสงสารของหนูน้อยปอลินน์ ความน่ารักน่าเอ็นดูของหนูน้อยฌาคส์คงจะทำให้ผู้อ่าน...ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รักนิทานเรื่องนี้

"ใครจะว่ามันเป็นเจ้าลาวายร้ายที่ชอบอู้งาน
ใครจะว่ามันเป็นลาแสนรู้ที่ประกอบวีรกรรมไว้มากมาย
มันจะเป็นอย่างไรก็ตาม
แต่...ลาอย่าง "กาดิชง" คงจะเป็นลาตัวเดียวในโลกที่มีบันทึกของมันเอง..."


...ลาอย่างกาดิชงนี่แหละ ที่จะเลือกว่าใครเหมาะสมที่จะเป็นนายของมัน...
 
....ตัวละครในเรื่องนี้จะมีมิติทาง อารมณ์ที่ขับเคลื่อนพฤติกรรมในหลากหลายรูปแบบ ทั้งดีและไม่ดี มีความเป็นจริงที่จับต้องได้ เหมาะแก่การนำมาอ่านให้เด็กๆฟัง และเป็นการอบรมสั่งสอนเด็กๆไปในตัวในแบบที่เพลิดเพลินมากค่ะ

 หนังสือเด็กจากฝรั่งเศสอีกเล่มที่อ่านแล้วอารมณ์ดี...หยิบมาชวนอ่านค่ะ



วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2556

โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง



เขียน :  เท็ตสึโกะ คุโรยานางิ    แปล :  ผุสดี นาวาวิจิต

เป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก โดยเนื้อหาของเรื่อง โต๊ะโต๊ะจัง มีการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสวยงาม จรรโลงใจ จึงอยากจะนำมาแนะนำให้อ่านกันค่ะ

โต๊ะโตะจังเล่าเรื่องจริงของโรงเรียนประถม ศึกษา ในกรุงโตเกียว ในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่สองจะสงบไม่นานนัก เป็น เรื่องที่น่ารัก อ่านเพลิน และพูดถึงการศึกษาและโรงเรียนได้ดีมาก
          โต๊ะโตะจังถูกไล่ออกจากโรงเรียนเก่าขณะเรียนชั้นประถมหนึ่ง ด้วยเหตุผลว่า "จะเป็นการรบกวนเด็กคนอื่นในชั้นเรียน"
          โรงเรียน ใหม่ของโต๊ะโตะจังชื่อโรงเรียนโทโมเอ "โรงเรียนนี้ช่างไม่มีอะไรเหมือน โรงเรียนเก่าของเธอเลย" ห้องเรียนเป็นตู้รถไฟซึ่งไม่ได้ใช้แล้ว โต๊ะโตะจัง คิดว่าโรงเรียนนี้แปลกดี อีกไม่กี่วันต่อมา เธอสัญญากับตัวเองว่า "โรงเรียน ดีๆ อย่างนี้ จะไม่ยอมขาดเรียนเลยสักวันเดียว"
          ต่อมา เธอได้ รู้ว่าได้มาอยู่ในโรงเรียนแสนพิเศษที่สุดแห่งหนึ่งในโลก มีครูที่รักและ เชื่อมั่นในตัวเด็กอย่างครูโคบายาชิ ใครที่อ่านเรื่องนี้แล้วจะลืมโรงเรียน และคุณครูผู้นี้ไม่ลง ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด
          ได้รับเลือกเป็นหนังสิออ่านนอกเวลาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น วิชาภาษาไทยบังคับ ตามประกาศของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

                              สำนักพิมพ์ผีเสื้อ (ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๐)

* * *

เป็น หนังสือที่ทำลายสถิติการจำหน่ายหนังสือเล่มในญี่ปุ่น อาจกล่าวได้ว่านับ ตั้งแต่การสร้างชาติญี่ปุ่นมาทีเดียว คือในระยะเวลาเพียง ๓ ปีเศษ สามารถ จำหน่ายได้ถึง ๖ ล้าน ๕ แสนเล่มเฉพาะภาษาญี่ปุ่นและได้แปลเป็นภาษาอื่นๆ อีก นับสิบภาษา สำหรับภาษาไทยนั้นต้องพิมพ์ซ้ำถึง ๔ ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึงปี

                              จาก ความนำสำนักพิมพ์
                              สำนักพิมพ์ผีเสื้อ (กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕)

* * *

          แม้ ว่าเรื่อง 'โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง' ผ่านไปนานถึง ๑๐ ปี นับจากการ พิมพ์ภาษาญี่ปุ่นครั้งแรก แต่ก็มีผู้สนใจอ่านอย่างกว้างขวาง ฉบับภาษา ญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษต้องพิมพ์ซ้ำสม่ำเสมอทุกปี เช่นเดียวกับภาษาไทย ซึ่ง น่ายินดีที่ได้ทราบว่า สถาบันการศึกษาหลายแห่งใช้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลา สำหรับนักเรียนนักศึกษา และใช้เป็นคู่มือการศึกษา การแปลภาษาญี่ปุ่นใน มหาวิทยาลัยของรัฐบางแห่ง
          'โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้าง หน้าต่าง' ฅนนั้นเคยบอกว่า เธอดีใจที่ประสบความสำเร็จในงานการแสดง และชีวิต ปัจจุบันของเธอมีพร้อมทุกอย่าง แต่ความสุขของชีวิตซึ่งไม่อาจเทียบได้กับ สิ่งใดก็คือการได้รู้ว่า มีฅนหลายสิบล้านฅนทั่วโลกชื่นชมเรื่องที่เธอ เขียน เพราะเรื่องเหล่านั้นเป็นตัวแทนความดีงามของมนุษยชาติ ซึ่งอาจจะทำให้ เกิดขึ้นได้ในทุกยุคทุกสมัย แม้แต่ปัจจุบันและทุกแห่งหน ไม่ว่าจะเป็นประเทศ ใด ส่วนใดของโลก
          เด็กหญิงที่ถูกไล่ออกจากโรงเรียนตั้งแต่อยู่ ชั้นประถมปีที่หนึ่ง เคยอยากเป็นสายลับ อยากเป็นพนักงานเก็บตั๋วรถไฟ อยาก เป็นนักเต้นบัลเล่ต์ และอะไรอื่นอีกมากมาย ในที่สุดเธอกลายเป็นนักแสดงที่มี รายได้สูงสุดในญี่ปุ่นติดต่อกันมาหลายปี คือทำเงินรายได้จาการแสดงเพียง อย่างเดียวปีละกว่า ๕๐ ล้านบาท ได้รับเลือกเป็นฑูตพิเศษของยูนิเซฟแห่งสห ประชาชาติ

                                        จากคอลัมน์ : หนังสือ โดย ปลายปากกา
                                        หนังสือหลักไท ฉบับวันที่ ๒๐-๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๕

* * *

โต๊ะโตะจังเปิดหน้าต่าง

หน้าต่างบานแรก

ห้อง เรียนของโต๊ะโตะจังอยู่ชั้นล่าง หน้าต่างติดกับถนน กลุ่มนักดนตรีร้องเพลง โฆษณาสินค้าครึกครื้น ที่ชายคาเหนือหน้าต่างมีนกนางแอ่นทำรัง
          “ทำ อะไรอยู่น่ะ?” โต๊ะโตะจังเงยถามเสียงลั่น ภายในห้องเรียนของโต๊ะโตะจังมี วิชาวาดรูปที่เด็กๆ ไม่ได้รับอนุญาตให้วาดหรือระบายเลยกรอบกระดาษ โต๊ะโตะ จังในวัยผู้ใหญ่จำได้เพียงเลือนลางว่าเหตุใดเธอจึงยืนนิ่งมองหน้าต่างนานนับ ชั่วโมงทั้งที่กำลังอยู่ในวิชาเรียน โต๊ะโตะจังกำลังจะย้ายไปสู่โรงเรียนที่ ดีกว่านี้
          “บอกหน่อยสิ ทำอะไรอยู่?”

........................

โต๊ะ โตะจังเคยมีลูกไก่ตัวหนึ่ง เธอรบเร้าจะเลี้ยงให้ได้อยู่นาน แม้พ่อแม่เตือน แล้วว่าลูกสัตว์อ่อนแอและจะตายภายในไม่กี่วัน และแล้วความตายก็พรากสัตว์ เลี้ยงของเธอจากไปจริงๆ ในเวลาแสนสั้น โต๊ะโตะจังเชื่อว่าเธอจะเลี้ยงลูกไก่ อย่างดีได้ ชีวิตเล็กน้อยนั้นผ่านไปอย่างคุ้มค่า และเด็กหญิงคนหนึ่งไม่ได้ ตัดโอกาสบำรุงเลี้ยงชีวิตที่ใครต่อใครรู้ว่ากำลังจะสูญเสียไป
          อีก ครั้งหนึ่งโต๊ะโตะจังทำให้ยาสึอากิจังปีนต้นไม้ได้สำเร็จ เด็กชายแขนขาพิการ ปีนต้นไม้ไม่ได้เป็นครั้งแรก และเป็นครั้งสุดท้ายก่อนชีวิตที่ยังไม่รู้จัก การโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ของเด็กชายจบลง โต๊ะโตะจังใช้ความกล้า ความหวัง และ กำลังทั้งหมดที่มีพาเพื่อนปีนขึ้นไปให้ถึง แดดฤดูร้อนเจิดจ้า เด็กทั้งสอง มองทิวทัศน์จากบนต้นไม้
          วรรณกรรมเยาวชนญี่ปุ่นมีเนื้อหาหลาก หลาย การศึกษาและความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกในครอบครัวมักเป็นเรื่องหลักที่ เน้นย้ำไว้ภายในเสมอ สงครามเป็นเงาดำที่พาดผ่านจินตนาการไร้จำกัดของ วรรณกรรมญี่ปุ่น กระนั้นเนื้อหาสงครามที่โหดร้ายไม่ได้มีมากมายพอแก่การทำ ให้หนังสือสำหรับเด็กแปดเปื้อน โต๊ะโตะจังผ่านพ้นสงครามมาได้
          ทุก ครั้งที่มองออกไปนอกหน้าต่างในวัยแตกต่างกันจะเห็นภาพใหม่ ภาพซึ่งไม่ว่าจะ งดงามหรือมืดดำอย่างไร ผู้ถูกมองก็ยังโดดเดี่ยวถูกทอดทิ้งอยู่เช่นเดิม ทว่า ในความแปลกแยกนั้นโต๊ะโตะจังได้ปีนป่ายขึ้นมาสู่จุดที่ตนเองมีเสียงดังและ ร่างกายสูงใหญ่ เธอได้พูดถึงหลายสิ่งหลายอย่างไว้ในชีวิตที่ยังดำเนิน อยู่ มีคนมากมายฟังเธอ ขณะที่โลกต้องการการเปลี่ยนแปลง


หน้าต่างบานที่สอง

โรงเรียน ใหม่ของโต๊ะโตะจังมีรถไฟเป็นห้องเรียน ระบบการศึกษาแนวใหม่ถูกบันทึกไว้ที่ นี่ เด็กได้เรียนรู้ตามใจปรารถนา และไม่มีตัวตนด้านใดถูกมองข้ามหรือ ทำลาย นับเป็นการเรียนที่มีนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Student Centered) อย่าง แท้จริง
          โต๊ะโตะจังมองออกไปนอกหน้าต่างรถไฟ ต้นไม้ไกวเล่นลมเหมือนมีชีวิต เด็กน้อยรู้สึกเหมือนว่ารถไฟกำลังวิ่งอยู่
          “โต๊ะ โตะจัง เด็กหญิงข้าง หน้าต่าง” (Totto-chan : The Little Girl at the Window) หนังสือซึ่งสร้าง ปรากฏการณ์การตื่นตัวครั้งใหญ่ในตลาดหนังสือเยาวชนญี่ปุ่น เขียนขึ้นใน ปี ๑๙๘๑ และขายได้ถึง ๗ ล้านเล่มใน ๔ ปีแรกที่พิมพ์ออกจำหน่าย
          คุ โรยานางิ เท็ตสึโกะ (Kuroyanagi Tetsuko) ผู้เขียน “โต๊ะโตะจัง เด็กหญิง ข้างหน้าต่าง” จากชีวิตจริงเป็นนักแสดงและนักจัดรายการโทรทัศน์ที่มีชื่อ เสียงในญี่ปุ่น นอกจากนี้เธอยังเป็นทูตพิเศษ (Good Will Ambassador) ของ องค์การยูนิเซฟแห่งสหประชาชาติ คุโรยานางิสารภาพว่าการเขียนเป็นงานอดิเรก ของเธอเท่านั้น เธอเรียกตนเองว่านักแสดง ผลงานของคุโรยานางิ เท็ตสึโกะ จึง มีไม่มากมาย
หนังสือของโต๊ะโตะจังชนะใจผู้อ่านด้วยดวงตาบริสุทธิ์แจ่มใจ ของเด็ก ขณะที่ระบบการศึกษาอันเป็นที่รักของครูโคบายาชิ ครูใหญ่ของโรงเรียน โทโมเอในเรื่อง กลายเป็นแนวคิดสำคัญที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนปรัชญาทางการ ศึกษาในวงกว้างขวาง เธออุทิศหนังสือ “โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง” แก่ คุณครูโคบายาชิผู้ล่วงลับ
          กีฬาโรงเรียนมีรางวัลเป็นผักชนิด ต่างๆ เด็กที่ได้รางวัลมากที่สุดคือเด็กที่เคลื่อนไหวช้าและร่างกายจะไม่ โตกว่าเด็กประถมอีกต่อไป ครูโคบายาชิทำให้เด็กคนนี้ชนะกีฬาทุกประเภท และเขา ชนะไปตลอดชีวิต แม้หลังจากโรงเรียนโทโมเอไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว โต๊ะโตะจัง อยากเติบโตขึ้นเป็นครูเพื่อกลับมาสอนที่โรงเรียนเดิม
          โรงเรียน โทโมเอในฝันถูกเผาจากการทิ้งระเบิดของกองทัพสหรัฐฯ สงครามโลกครั้งที่สอง กำลังจะจบลง ครูโคบายาชิไม่ได้สร้างโรงเรียนขึ้นใหม่ พื้นที่นั้นกลายเป็น ห้างสรรพสินค้าในวันนี้ โต๊ะโตะจังอยู่บนขบวนรถไฟที่หนีและละทิ้งโรงเรียน ไว้เบื้องหลัง


หน้าต่างบานสุดท้าย

คนข้างหน้าต่างในความหมายยุคนั้นคือ คนผู้ไม่มีความสลักสำคัญ และถูกทอดทิ้งโดดเดี่ยว
ไม่มีโรงเรียนอีกแล้ว โต๊ะโตะจังมองหน้าต่างรถไฟ ภายนอกมืดสนิท
...................

โต๊ะ โตะจังเติบโตขึ้นเป็นนักเรียนขับร้อง จากนั้นผันตัวเข้าสู่วงการโทรทัศน์จาก การเป็นนักแสดงรุ่นแรกของเอ็นเอชเค ได้รับเลือกเป็นดาราโทรทัศน์ยอด นิยม ๔ ปีซ้อน มีรายการโทรทัศน์ของตนเองชื่อ “ห้องของเท็ตสึโกะ” ได้รับ รางวัล รายการวิทยุโทรทัศน์ยอดเยี่ยม และรางวัลผู้แสดงยอดเยี่ยมของสมาคมนัก ประพันธ์บทละครวิทยุ
          คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ หรือ โต๊ะโตะจังใช้ ชีวิตสร้างสรรค์ด้วยสายตาที่มองโลกในแง่ดีเสมอ ความฝันสุดท้ายของเธอก่อนที่ ชีวิตจะพบทางของตัวเองคือ การเป็นแม่ที่เล่าเรื่องเก่ง เพื่อว่าลูกๆ จะได้ เคารพเธอ ๔ ปีหลังจากหนังสือเล่มแรก คุโรยานางิได้เขียนตอนต่อของโต๊ะโตะจัง ในวัยรุ่นลงใน “โทรทัศน์ของโต๊ะโตะจัง” หรือ “นางสาวโต๊ะโตะ” ซึ่งเล่าชีวิต ในวงการมายาที่สอนให้เธอฟันฝ่าต่อสู้ และเรียนรู้จากชีวิตและโอกาสอย่างคุ้ม ค่า
          โลกทัศน์อันงามในโต๊ะโตะจัง ทำให้เธอได้รับเลือกเป็นหนึ่ง ในทูตพิเศษขององค์กรยูนิเซฟ ๕ คนที่ยังมีชีวิต อยู่ ได้แก่ Sir Peter Ustimov, Liv Ullmann, Harry Belafonte และ Lord Attenborough ซึ่ง มีชื่อเสียงในสาขาอาชีพแตกต่างกัน
          กว่า ๕๐ ปีมาแล้วที่องค์กร ยูนิเซฟขอความช่วยเหลือจากบุคคลผู้มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ เช่นนัก ร้อง นักแสดง ศิลปิน และนักกีฬาในการเรี่ยไรเงินบริจาค ช่วยเหลือเด็กทั่ว โลกในรูปของทูตพิเศษ (Good will Ambassador) และตัวแทน พิเศษ (Special Representative) เลขาธิการยูนิเซฟได้อ่านหนังสือโต๊ะโตะจัง ของเธอ และปรารภว่าเธอมีทัศนะเกี่ยวกับเด็กที่ตรงกับขององค์การตราบ ปัจจุบัน นับเป็นเวลาย่าง ๑๘ ปีแล้วที่คุโรยานางิ เท็ตสึโกะประสบความสำเร็จ ในการปลุกกระแสมวลชนให้ตื่นตัวในประเด็นเกี่ยวกับเด็ก และเรี่ยไรเงินบริจาค เข้าองค์กรได้ถึง ๓.๐๗๔ พันล้านเยนเมื่อบรรลุปี ๒๐๐๐


หน้าต่างแห่งอนาคต

ภาพ ของโลกที่โต๊ะโตะจังเห็นต่อไปจากการเป็นทูตพิเศษคือภาพเลวร้ายที่สุดของ เด็กๆ ในความเป็นจริง คุโรยานางิ เท็ตสึโกะเดินทางทั่วโลกเพื่อประจักษ์ความ โหดร้ายที่เด็กจำนวนมหาศาลได้รับ
          “จำเป็นมากที่คนหนุ่มคนสาว ต้องออกนอกประเทศไปดูหลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ใช่แค่ไปชมวิวทิวทัศน์นะคะ ถ้า พวกเธอได้เป็นพยานรับรู้ปัญหาทั้งหลายในโลกนี้ วิธีมองโลกของเธอจะเปลี่ยน ไป เธอจะรู้ว่าเธอโชคดีและร่ำรวยแค่ไหนแม้ว่าเธออาจจะได้รับความขุ่นเคือง รำคาญ เธอจะเข้าใจว่าเธอปลอดภัยจากการโจมตีทางอากาศและกับระเบิดแค่ไหน” คุ โรยานางิ รณรงค์ผ่านการสัมภาษณ์ในนิตยสาร The Japan Times ในเดือน กันยายน ปี ๒๐๐๐
          ไม่นานก่อนวันสัมภาษณ์เธออยู่ในไลบีเรีย ที่ นั้นเธอได้พบเด็กชายอายุ ๑๐ ขวบถือปืนอยู่ เด็กน้อยเชื่อว่าการฆ่าคนคือเกม สนุก ต่อมาเธอได้พบเด็กหญิงอายุ ๑๒ ปีขายตัวเป็นโสเภณีเพื่อเลี้ยงดูครอบ ครัวในไฮติ เด็กที่ประสบชะตาร้ายทำให้หัวใจของโต๊ะโตะจังแตกสลาย เด็กหญิง ขายตัวทำให้เธอไร้คำพูด
          เธอตั้งปณิธานว่าจะเขียนงานซึ่งปลุก เร้าประเด็นปัญหาของเด็ก และให้ความรู้แก่ประชาชนในญี่ปุ่นซึ่งอาชญากรรมใน หมู่ผู้เยาว์กำลังแปรเป็นปัญหาระดับชาติ
          โต๊ะโตะจังเขียน หนังสือเล่มใหม่สำเร็จลงไม่นานมานี้ Totto- chan’s Children : A Good Will Journey to the Children of the World บอกกล่าว เรื่องจริงโลดโผนจากการไปเยือนแทนซาเนีย ไนเจอร์ กัมพูชา และรวันดา ด้วยตน เองตามประสงค์ขององค์การยูนิเซฟ
          โต๊ะโตะจังไม่ใช่เด็กที่รับ รู้ความโหดร้ายของโลกผ่านวิธีอ่อนโยนของพ่อแม่และโรงเรียนโทโมเออีกต่อ ไป หากแต่รับรู้ความจริงในสภาพเที่ยงตรงและแข็งกระด้าง
          ที่ สุด เธอประณามการที่เด็กตกเป็นเหยื่ออย่างแข็งกร้าว เหมือนเด็กหญิงโต๊ะโตะ คนเดิมที่ต่อสู้และแก้แค้นแทนเพื่อนเมื่อถูกรังแก

                       จาก  : นิตยสารสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ (โลกวรรณกรรม โดยวิวรณ์ หน้า ๖๓)
                       ปีที่ ๔๗ ฉบับที่ ๓๗ วันศุกร์ที่ ๙ – วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.  ๒๕๔๔